นายธีร์ ภวังคนันท์

เหตุรุนแรงในร.ร.พุ่งต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี66เดินหน้าแก้ปัญหาเชิงรุก

นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา มีหลายมิติ บางเรื่องเป็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ข้างล่าง และเป็นผลมาจากภาวะความรู้ถดถอย หรือ Learning Loss ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลให้เด็กต้องปรับรูปแบบการเรียนรู้ จากเรียนออนไซต์ในห้องเรียน มาเป็นเรียนออนไลน์ที่บ้าน

ขณะที่บางครอบครัวประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้เด็กต้องเอาตัวรอด ทั้งนี้ ช่วงเรียนออนไลน์ เด็กสามารถทำได้หลายอย่าง ทั้งเปิดจอคอมพิวเตอร์เรียนกับครู เล่นเกม และโทรศัพท์คุยกับเพื่อน เพราะฉะนั้น การเรียนรู้จึงถดถอยอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงต้องเร่งฟื้นฟู เรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

หลังกลับมาเปิดเรียนออนไซต์ตามปกติ หลายคนเข้าใจว่า ปัญหาเหล่านี้จบแล้ว หรือเบาแล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่ สถานการณ์ยังหนักหน่วง รุนแรงมากกว่าที่คิด เพราะเด็กไปเรียนรู้ผิดๆ มาเยอะ ไปเล่มเกมที่มีความรุนแรง โดยปัญหาทั้งหมดเหล่านี้รอออกดอก ออกผลในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

ดังนั้นผมจึงพยายามเร่งแก้ไขอย่างจริงจัง ดึงเด็กกลับเข้ามาเรียน เพราะหากเด็กหลุดออกนอกระบบเพิ่มมากขึ้น การดึงกลับเข้ามาจะเป็นเรื่องยากเข้าไปอีก ผมมองว่า เป็นภารกิจที่รัฐบาลเองควรให้ความสำคัญอย่างจริงจัง กระบวนการทั้งหมดต้องวางแผนให้ครูมีองค์ความรู้ และมีวิธีการจัดการกับเด็กกลุ่มนี้ รวมถึงต้องตระหนักและมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น ไม่ได้เบาอย่างที่คิด และคงต้องใช้กำลังคนและความเสียสละอีกมาก นายธีร์กล่าว

รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า แนวทางการแก้ปัญหา คือครูต้องปรับการสอน ใช้แอ๊กทีฟเลิร์นนิ่งเป็นตัวช่วยสำคัญ ทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ กระบวนการเหล่านี้จะทำให้เด็กเป็นส่วนหนึ่งกับการเรียนรู้ มีความสุขมากกว่าการเรียนออนไลน์ ส่วนเด็กกลุ่มที่ทำผิดพลาด และอยู่ระหว่างการดำเนินคดีนั้น หากทุกคนเข้าใจกระบวนการในส่วนนี้แล้ว จะไม่มองเด็กเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้ร้าย เพียงแต่เขากำลังช่วยตัวเองไม่เป็น เพราะฉะนั้นแต่ละหน่วยงานต้องบูรณาการความร่วมมือ เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ร่วมกัน ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถานพินิจ กระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลสุขภาพจิต เป็นต้น เพื่อวางแผนทำงานร่วมกันในระยะยาว ซึ่ง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. พยายามดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้า ภาวะการเรียนรู้ถดถอย ฯลฯ

การศึกษาต้องฟื้นฟูเรื่องนี้ ขณะเดียวกันต้องทำงานร่วมกับจังหวัด ฟื้นฟูครอบครัวให้กลับมาเข้มแข็ง ครูต้องมีความเข้าใจ และเป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งปี 2566 ผมตั้งใจจะเร่งดำเนินการ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถแก้ไขให้แล้วเสร็จได้ภายในปีเดียวแต่การแก้ปัญหาจะเห็นผลในอีกหลายปีข้างหน้า รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ neros-neptune.com

แทงบอล

Releated