การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัย

ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์ สามารถการในวิเคราะห์และมีความสามารถในการนำไปปฏิบัติได้ มีลักษณะเป็นความรวมความคิดหลายทางและมีลักษณะคล้ายๆกับกระบวนการแก้ปัญหา มีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่อง แต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการและถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้ ความคิดสร้างสรรค์ประการสำคัญผู้คิดนั้นจะต้องไม่ทุกข์ ไม่มีความรู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกบีบคั้น คิดตามความเป็นจริง คิดตรงกับสภาพแห่งตามที่เป็นจริงนั้น ในความคิดสร้างสรรค์จะต้องสร้างความสุขด้วย จึงจะเป็นความสร้างสรรค์ เป็นความคิดสร้างสุข โดยมีธรรมฉันทะเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการคิด

ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์

การคิดที่ดี ควรมีลักษณะ ลึก กว้างไกล และสร้างสรรค์ คำว่า ลึก หมายถึง สิ่งที่มิใช่เพียงสัมผัส มีความเป็นไปได้และมีความชัดเจน กว่าง เป็นการสร้างภาพที่มีมุมมองอันเกิด จากการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ อย่างรอบครอบ ไกล เป็นการมองไปข้างหน้าในระยะยาว โดยคำนึงถึงสิ่งอันพึงปรารถนา ส่วนคำว่า สร้างสรรค์ นั้น เป็นการพิจารณาเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำของมนุษย์และมีพลังอำนาจมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดเสมอ ดังนั้น บุคคลจึงไม่เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งตองการให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นด้วย

ความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เป็นความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า
2. เป็นความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา
3. เป็นความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้

หลักการที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ

“การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่าง จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้ จะคิดให้หายนะ คือ คิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้ การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัย หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใด สิ่งใด ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำ ให้มีแต่ความจริงใจตามเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์ สามารถในวิเคราะห์และและมีความสามารถในนำไปปฏิบัติได้ มีลักษณะเป็นความรวม ความคิดหลายทาง และมีลักษณะคล้าย ๆ กับกระบวนการแก้ปัญหา มีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่อง แต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการ และถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้

หลายคนเข้าใจว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถเฉพาะตัวหรือเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ความจริงแล้วทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวและสามารถพัฒนาได้ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่

การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเพราะเป็นช่วงเวลาที่เซลล์สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งเด็กได้ใช้ความคิดมากเท่าไร ใยประสาทก็จะยิ่งเจริญเติบโตมากเท่านั้น

กิลฟอร์ดนักจิตวิทยาชาวอเมริกาได้อธิบายว่า การคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง ประกอบด้วย

1.ความคิดริเริ่ม คือ มีความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดแบบเดิมๆ ชอบปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กล้าคิดกล้าแสดงออก

2.ความคิดคล่องตัวคือ ปริมาณความคิดที่มีหลากหลายคำตอบในเรื่องเดียวกัน และการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

3.ความคิดยืดหยุ่น คือ รูปแบบการคิดที่ไม่ตายตัว คิดได้หลายประเภทหลายทิศทางและหลายแง่หลายมุมอย่างอิสระ

4.ความคิดละเอียดลออ คือ การให้รายละเอียดต่อความคิดนั้นได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถผสมผสานทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

คุณครูสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กได้ โดยการตั้งคำถามปลายเปิดง่าย ๆ เช่น “ถ้าพูดถึงสีเขียว เด็ก ๆ จะนึกถึงอะไรบ้าง” ซึ่งคำตอบที่หลากหลายของเด็ก ๆ สามารถแสดงถึงทักษะการคิดในทิศทางต่าง ๆ กัน เด็กที่นึกถึงสิ่งที่มีสีเขียวได้หลายชนิด เช่น ใบไม้ ผัก ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ต้นหญ้า ฯลฯ และตอบได้รวดเร็วย่อมแสดงถึงทักษะการคิดคล่องตัว ในขณะเดียวกัน เด็กบางคนที่มีทักษะในการคิดยืดหยุ่นสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับคำถามและให้คำตอบที่ต่างออกไป เช่นนึกถึงทหาร ความร่มเย็น ความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น ฉะนั้นการตั้งคำถามให้เด็กตอบ แล้วช่วยชี้นำให้เขาฝึกคิดอย่างรอบด้านเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี

ถึงเวลาแล้วที่คุณครูจะต้องช่วยกันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างจริงจัง โดยการกระตุ้นให้พวกเขาได้ลองคิด ทำสิ่งต่างๆ อย่างอิสระ เพื่อฝึกคิดให้กว้างไกลหลายทิศทาง ซึ่งเป็นการสร้างฐานพลังทางความคิดอันนำไปสู่การรู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก

1. อายุ 0-2 ปี มีพัฒนาการด้านจินตนาการ อายุ 2 ปี มีความพร้อมที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

2. อายุ 2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งแปลกใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ช่วงความสนใจสั้น

3. อายุ 4-6 ปี สนุกกับการวางแผน สนุกกับการเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติและทดลองเล่นบทบาทต่าง ๆ โดยใช้จินตนาการ มีความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ แม้จะเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ไม่ดีนักพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)

4. อายุ 6-8 ปี จินตนาการสร้างสรรค์เปลี่ยนไปสู่ความจริงมากขึ้นชอบบรรยายถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำพูดรักการเรียนรู้และต้องการประสบการณ์ที่ท้าทายและสร้างความสนุกสนาน

5. อายุ 8-10 ปี สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัว มีความสามารถในการเรียบเรียงคำถาม ความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มพูนมากขึ้

6. อายุ 10-12 ปี ชอบการสำรวจค้นคว้า ชอบการทดลอง มีสมาธิหรือช่วงความสนใจนานขึ้น เด็กผู้หญิงชอบเรียนรู้จากหนังสือและการเล่นสมมติ เด็กผู้ชายชอบเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านศิลปะและดนตรีจุดอ่อนคือเป็นช่วงวัยที่ขาดความมั่นใจในผลงานของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ลดลงบางช่วง เพราะเป็นช่วงที่พยายามปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน เลียนแบบเพื่อน ลดความคิดอิสระ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ neros-neptune.com

ufa slot

Releated